การหาเตียงสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นกระบวนการสำคัญในการรักษา ซึ่งมีช่องทางการติดต่อสอบถามหาเตียงรักษาอยู่หลายช่องทาง ขณะเดียวกันระหว่างรอเตียงควรดูแลรักษาแยกตนเองออกจากผู้อื่น ให้ความสำคัญกับความสะอาด และแจ้งทางผู้ดูแลหอพักเพื่อจัดการเฝ้าระวัง
หากรู้ว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไร
- เตรียมเอกสารที่จำเป็น เช่น บัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารผลตรวจเชื้อโควิด-19
- โทรเบอร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการหาเตียง แจ้งช่องทางการติดต่อให้กับหน่วยงาน หรือแอดไลน์ @sabaideebot (สบายดีบอต) เพื่อกรอกข้อมูล
- กักตัวเพื่อรอเตียง พยายามดูแลตนเองตามขั้นตอน
ช่องทางติดต่อขอความช่วยเหลือหาเตียง
- 1669 จัดหาเตียง 24 ชั่วโมง ใน กทม.
- 1668 กรมการแพทย์ติดต่อเวลา 08.00-22.00 น.
- 1646 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กทม. (เอราวัณ)
- 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปวช.) โทรได้ 24 ชั่วโมง
- 1422 กรมควบคุมโรค หากต้องการตรวจหาเชื้อโควิด-19
- 1323 กรมสุขภาพจิตกรณีกังวลใจ
- ประสานหาเตียง Facebook Fanpage : เราต้องรอด
- ประสานหาเตียง Line ID : @sabaideebot

การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ระหว่างรอเตียง
- รักษาระยะห่างกับคนในบ้าน : กักตัวอยู่ในห้องห้ามอยู่ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทมากขึ้น เช่น เปิดหน้าต่าง และควรสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอด
- ดูแลรักษาความสะอาด : ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น แยกทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หากหอพักมีหลายชั้นไม่ควรกดลิฟต์โดยตรง และไม่ควรยืนพิงสัมผัสกับตัวลิฟต์
- ดูแลร่างกายมากขึ้น : พยายามลดความวิตกกังวล ทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นผักผลไม้ที่มีวิตามินซี และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
* หากอาศัยอยู่ในหอพักที่มีผู้อื่นอาศัยอยู่ควรแจ้งให้กับผู้ดูแลหอพักทราบ
การดูแลตนเองเมื่อติดโควิด-19 แต่เตียงเต็ม
- มีไข้สูงตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส : ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้ได้ 7 ชั่วโมงขึ้นไป ทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง ร่วมกับเช็ดตัว
- มีอาการไอ : ทานยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอ พยายามนอนตะแคงหนุนหมอนสูง เลี่ยงการนอนราบ
- คลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย : ถ้าทานอาหารได้น้อยให้ลดปริมาณแต่เพิ่มมื้ออาหาร งดอาหารจำพวกนม โยเกิร์ต หรืออาหารที่ย่อยยาก
- หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก : ทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเท ค่อย ๆ หายใจทางจมูกและปาก พยายามนั่งตัวตรง หากมีอาการสามารถเอนตัวไปด้านหน้า มือวางบนหน้าขา และพยายามหายใจลึก ๆ ยาว ๆ จะสามารถช่วยได้
* หากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ไข้ขึ้นสูงให้โทร 1669
นอกจากนี้หากอาการไม่รุนแรงจะถูกจัดเป็นผู้ป่วยที่สามารถรักษาแบบ Home Isolation ซึ่งสามารถรักษาได้ที่บ้านภายใต้คำแนะนำ และการดูแลจากแพทย์
ที่มา: โรงพยาบาลเพชรเวช